menu

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

การแทรก JavaScript

           JavaScript เป็นภาษายุคใหม่สำหรับการเขียนโปรแกรมบนระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เราสามารถเขียน โปรแกรม JavaScript เพิ่มเข้าปในเว็ปเพจเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับงานด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนวณ การแสดงผล การรับ-ส่งข้อมูล และที่ สำคัญคือ สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันได นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านอื่น ๆ อีกหลายประการที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้ กับเว็บเพจของเราได้อย่างมาก ภาษาจาวาสคริปต์ถูกพัฒนาโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScript ใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript
ลักษณะการทำงานของ JavaScript
JavaScript เป็นภาษาสคริปต์เชิงวัตถุ หรือเรียกว่า อ็อบเจ็กโอเรียลเต็ด (Object Oriented Programming) ที่มีเป้าหมายในการ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เขียนเอาสารด้วยภาษา HTML สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ทำงานร่วมกับ ภาษา HTML และภาษาจาวาได้ทั้งทางฝั่งไคลเอนต์ (Client) และ ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) โดยมีลักษณะการทำงานดังนี้ 1. Navigator JavaScript เป็น Client-Side JavaScript ซึ่งหมายถึง JavaScript ที่ถูกแปลทางฝั่งไคลเอนต์ (หมายถึงฝั่งเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซี เครื่องแมคอินทอช หรือ อื่น ๆ) จึงมีความเหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ 2. LiveWire JavaScript เป็น Server-Side JavaScript ซึ่งหมายถึง JavaScript ที่ถูกแปลทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (หมายถึงฝั่งเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเว้บ โดยอาจจะเป็นเครื่องของซันซิลิคอมกราฟิกส์ หรือ อื่น ๆ) สามารถใช้ได้เฉพาะกับ LIveWire ของเน็ตสเคป โดยตรง

เมื่อไหร่ต้องใช้ JavaScript ?

          เราจะใช้ JavaScript เมื่อต้องการทำให้ เวบเพจแสดงผลแบบเคลื่อนไหวได้ มีชีวิตชีวา ไม่แข็งทื่อ หรือใช้ในการสั่งให้ บราวเซอร์ทำงานตามที่เราต้องการ โดยงานนั้น อาจเกินความสามารถ ของภาษา HTML แต่ไม่ใช่งานที่ต้องติดต่อกับ Server นั่นเพราะ JavaScript เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมทางฝั่ง cliend โดยมีบราวเซอร์เป็นตัวแปลภาษานั่นเอง ตัวอย่างของงาน ที่จะต้องใช้ภาษา JavaScript เช่น 
  • สร้างเมนูที่สามารถตอบสนองต่อการเอา mouse ไปชี้ได้
  • สร้างเครื่องคิดเลข ปฏิทิน เกม ในเวบเพจ
  • เปิด,ปิด,เคลื่อนย้ายตำแหน่งของ window
  • ทำตัวอักษรวิ่งแบบต่างๆ
  • ตรวจสอบความถูกต้องของแบบฟอร์มที่ผู้ใช้กรอก ก่อนส่งข้อมูลไปยัง Server
  • และอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ต้องติดต่อกับ Server

ต้องรู้อะไรก่อนที่จะเรียน JavaScript ?

          HTML ครับ อันนี้ตัวหลักเลย เพราะเราจะทำเวบ และ JavaScript จะต้องเขียนแทรกเข้าไปรวมกับ HTML ทำงานร่วมกับ HTML ไม่สามารถแสดงผลด้วย JavaScript เพียงอย่างเดียวได้
แล้วต้องรู้ลึกแค่ไหนล่ะ ?
          ไม่ต้องถึงกับเก่งมากก็ได้ อย่างน้อยขอให้มีความรู้ระดับพื้นฐานก็พอ สามารถทำลิงก์ได้ ใส่ภาพได้ สร้างตารางได้ สร้างแบบฟอร์มได้ แค่นี้ก็เหลือรับประทานแล้ว
ยิ่งถ้ามีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมอย่าง C,C++,Pascal ด้วยแล้ว จะทำให้เข้าใจ JavaScript ได้เร็วมากเลย

สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะเขียน JavaScript

          เนื่องจาก JavaScript เป็นภาษาที่ทำงานฝั่ง cliend ใช้เบราเซอร์เป็นตัวแปลภาษา ดังนั้นเราก็สบายสิ ^-^ ไม่ต้องเตรียมโปรแกรมอะไรพิเศษเลย มีแค่เบราเซอร์ที่เข้าใจภาษา JavaScript ซึ่งเบราเซอร์ส่วนใหญ่ ก็ทำได้อยู่แล้ว แต่ผมขอแนะนำ Internet Explorer 5.0 ขึ้นไปครับ เพราะสามารถรองรับการทำงานของ JavaScript ได้ดีที่สุด และอีกอย่างก็คือ Editor อะไรก็ได้ แม้แต่ Notepad (ตัวนี้ผมชอบมาก เพราะทั้งเล็กและเร็ว)

การใส่ JavaScript ลงในเวบเพจ


          คุณสามารถใส่ JavaScript ลงใน WebPage ของคุณได้โดยการใส่ Tag <script> และ </script> คร่อมคำสั่งต่างๆของ JavaScript และกำหนด Language เป็น JavaScript ครับ ดูจากตัวอย่างละกัน

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2559

สร้างการเชื่อมโยงไปยังอีเมล์ (Email Link)




   
  
   
การทำลิงค์อีเมล์ (Email Link) นี้ จะเป็นการสร้างลิงค์เพื่อส่งอีเมล์ โดยเป็นการเรียกใช้โปรแกรมในเครื่องของผู้ใช้งานเอง เช่น Outlook Express สำหรับวิธีการทำลิงค์ด้วยโปรแกรม Dreamweaver ก็สามารถทำได้ ง่าย ๆ ดังนี้
  
   
ขั้นตอนที่ 1 หลังจากทำการเปิดโปรแกรม Dreamweaver และเปิดไฟล์ที่ต้องการจะสร้างลิงค์ขึ้นมาแล้ว ให้ทำการคลิกที่เครื่องมือ Email Link ตามรูปตำแหน่งที่ 1 หรือ ใช้คำสั่ง Insert ---> Email Link ซึ่งจะปรากฏหน้าต่าง Email Link ตามรูปที่ตำแหน่งที่ 2
  
   
ขั้นตอนที่ 2 ให้กรอกข้อความที่ต้องการจะลิงค์ และ Email Account ปลายทางที่ต้องการส่งอีเมล์ถึงผู้รับ (เมล์เจ้าของเว็บไซต์) หลังจากใส่ข้อมูลเสร็จแล้วก็ให้คลิกปุ่ม OK